โครงการกู้เงิน กยศ. ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถในการจ่ายเงินเพื่อการศึกษาและเป็นโครงการที่ตั้งขึ้นมาเป็นเวลานานแล้วซึ่งในการกู้ครั้งหนึ่งลูกหนี้จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน เพื่อการันตีว่าตัวผู้กู้จะไม่หนีหนี้ และจะกลับมาจ่ายเงินเมื่อสำเร็จการศึกษา และมีงานทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ก็ยังพบเห็น ปัญหาการไม่ยอมจ่ายนี่อยู่บ่อย ๆ รวมถึงลูกหนี้หลาย ๆ คนก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยอมจ่ายคืนทั้งหมดปฏิเสธด้วยเหตุผลและความจำเป็นต่าง ๆ จนถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลก็เกิดขึ้นมาหลายกรณีแล้ว และยิ่งมีการทิ้งนี่ไว้นานก็จะยิ่งมีค่าปรับเพิ่มทำให้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นที่ตัวผู้กู้เองก็ไม่อาจมีอำนาจในการชำระหนี้ไหว
วันนี้ทางเราจึงอยากคุยถึงมาตรการในการจัดการกับผู้กู้เงิน กยศ.หรือลูกหนี้ กยศ. ว่าหากครบกำหนดชำระแต่ยังไม่มีการชำระเงินคืนจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวลูกหนี้และตัวผู้ค้ำประกันบ้าง
รวม 3 ความใจความสำคัญเมื่อ ผู้กู้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
1. มีค่าปรับเมื่อเกินกำหนดชำระหนี้
สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การกู้เงินกับกยศ.มาก่อนอาจจะไม่ทราบว่าทุก ๆ วันที่ 5 ของเดือน กรกฎาคมของทุกปี คือวันกำหนดชำระประจำปี กยศ. โดยจะมีหนังสือแจ้งหนี้ให้กับลูกหนี้ก่อนครบกำหนดโดยจัดส่งไปตามที่อยู่ตามภูมิลำเนาเดิมที่ได้ลงทะเบียนไว้ตามทะเบียนบ้าน จำนวนค่าปรับและดอกเบี้ยจะสูงขึ้นเป็นขั้นบันไดในแต่ละปี โดยให้กำหนดว่าจากยอดเงินกู้ทั้งหมดผู้กู้จำเป็นต้องชำระเงินเป็นอย่างต่ำ 1% ต่อปีให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี พร้อมดอกเบี้ย โดยค่าปรับจะอยู่ที่ 12% หากค้างชำระไม่เกินหนึ่งปีและ 18% หากเกินหนึ่งปีขึ้นไป โดยคำนวณจากเงินต้น ในช่วง โควิด-19 ได้มีการปรับลดยอดดอกเบี้ยสามสถานการณ์ดังนี้
- ลดดอกเบี้ยจากเดิม 1% เป็น 0.01% สำหรับผู้ที่ไม่เคยผิดนัด
- ลดเงินต้น 5% สำหรับผู้ที่ไม่เคยผิดนัดหรือต้องการปิดบัญชีครั้งเดียว
- ผู้ที่ต้องการปิดบัญชีรถดอกเบี้ยทันที 100%
- สำหรับผู้ที่ไม่เคยถูกดำเนินคดีรถเบี้ยปรับ 80%
- ลดอัตราเบี้ยปรับเหลือ 0.5% สำหรับผู้กู้ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีแต่ก็ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
2. การฟ้องร้อง
หากผู้กู้ยืมเงิน กยศ. ค้างชำระหนี้เกินกว่าห้าปีห้างวดขึ้นไปคิดเป็นเวลา 1460 วัน จะได้รับจดหมายแจ้งการไปรับฟังข้อกล่าวหาที่ศาลและจะถูกดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป รวมถึง ผู้ที่ผลระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้แล้วแต่ยังมีหนี้ค้างชำระ และผู้ที่ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี
หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นตามข้อกำหนดที่กล่าวไปนั้นตัวผู้กู้จะถูกบอกเลิกสัญญากู้ยืมและส่งดำเนินคดี บมจ. ธนาคารกรุงไทย จะเป็นผู้ดำเนินการฟ้องคดีโดยทางผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะได้รับหมายศาล เมื่อมีการนัดขึ้นศาลเพื่อสั่งข้อกล่าวหาผู้กู้สามารถยื่นประนีประนอมและพูดคุยในศาลได้ ขั้นตอนต่อไปก็คือการพิพากษาของศาลซึ่งอาจจะมีการชำระหนี้ในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิมหรือหากหาข้อตกลงไม่ได้ก็จำเป็นจะต้องมีการยึดทรัพย์เกิดขึ้น เมื่อผ่านขั้นตอนนี้ไปแล้วผู้กู้มีเพียงแค่ สิทธิ์เดียวคือ ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลหรือถูกบังคับคดี
3. ถูกยึดทรัพย์หลังบังคับคดี
เมื่อมีคำพิพากษาแล้วแต่ผู้กู้ยังไม่มีการชำระเงินหรือหนี้สินให้เสร็จสิ้นก็จะมีทีมงานในการสืบซับของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันเพื่อนำไปใช้ในการบังคับคดีเพื่อทำการยึดทรัพย์สินและประกาศขายทอดตลาดในขั้นตอนต่อไปเพื่อเป็นการนำเงินมาชำระคืนกองทุน โดยผู้กู้และผู้ค้ำประกันมีอยู่เพียงสองทางเลือกเท่านั้นได้แก่
- ชำระหนี้และปิดบัญชีทั้งหมดในครั้งเดียว
- ยื่นไกล่เกลี่ยคดีในชั้นบังคับคดีต่อไป
การไม่ยอมชำระหนี้ กยศ. ตามกฎหมาย
อย่างที่เห็นแล้วว่าการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดของ กยศ. จะส่งผลเสียอย่างไรตามมาบ้าง ไม่เพียงแต่ผู้กู้เท่านั้นแต่ยังส่งผลเสียไปถึงผู้ค้ำประกันอีกด้วย และที่ร้ายที่สุดก็อาจจะตามมาถึงโอกาสในการเรียนของผู้ที่ไม่มีเงินสนับสนุนที่ต้องการเงินจากทาง กยศ. เพื่อการศึกษาต่อไปก็อาจจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์นี้ทางที่ดีก่อนกู้ยืมเงินควรวางแผนการเงินให้ดีเพื่อจะได้ไม่ต้องรับผลกระทบที่ตามมาในภายหลัง