ธุรกรรมการเงินบนแพลตฟอร์มออนไลน์ สู่ยุคดิจิทัลของไทย

เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวไทยจนได้กับการทำธุรกรรมทางการเงิน บนมือถือและในขนาดนี้กิจการต่าง ๆ เหล่านี้ได้นำพาประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำธุรกิจการเงินหรือธุรกิจทั่วไปแม้แต่การใช้จ่ายประจำวันคนส่วนใหญ่ก็เลือกใช้ พร้อมเพย์ แน่นอนว่าทุกประเทศและทุกคนจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และเทคโนโลยีในปัจจุบันมากขึ้น

เหตุการณ์โรคระบาดของ โควิด-19 กลายมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น โดยได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งให้มีการใช้เทคโนโลยีในการทำธุรกรรมดิจิทัล ในรูปแบบ Real Time และเกิดการสร้างแพลตฟอร์มการทำธุรกรรมออนไลน์มากมายหลายยี่ห้อเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบันและการเติบโตทางจีดีพีที่สูงขึ้นอย่างไม่คาดคิด

อันดับ 3 ของโลก ในเรื่องปริมาณการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต

หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวสู่การเป็นยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัวแล้วโดยเฉพาะในด้านของการทำธุรกรรมทางการเงินที่สามารถโอนเงินและรับเงินได้ทันทีไม่ต่างจากเงินสด และยังสามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วันแบบไม่มีวันปิดระบบและไม่มีวันหยุด และประเทศไทยยังได้รับการจัดอันดับจากทาง ACI Worldwide ที่จับมือร่วมกับบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง GolbalData และ CEBR ที่เป็นบริษัทที่ได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างสูงในระดับอินเตอร์

มีการพบว่าจากผลสำรวจทั้งหมด 53 ประเทศประเทศไทยมีจำนวนการทำธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นอันดับที่ 3 ของโลก ในจำนวนการทำธุรกรรมทั้งหมด 9.7 ล้านครั้งต่อปีในปี 2021 โดยเป็นรองจากประเทศอินเดียและจีนลงมาตามลำดับ

GDP ที่เพิ่มขึ้นถึง 2% กิจกรรมที่ส่งผลต่อการทำธุรกิจในทุกภาคส่วน

อีกหนึ่งสิ่งที่ตามมาจากการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์โดยการชำระเงินแบบเรียลไทม์ ก็คือมีการเปิดแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการการโอนเงินและการชำระเงินมากมายภายใต้ยี่ห้อและบริษัทต่าง ๆ กลายมาเป็นการลดขนาดของระบบเศรษฐกิจใต้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังเป็นการสร้างระบบการเงินที่สามารถตรวจสอบได้และเป็นรูปธรรมมากขึ้น เรียกว่าเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพและพัฒนาระบบเศรษฐกิจในอีกแบบหนึ่งที่ส่งต่อกันเป็นห่วงโซ่

ถือได้ว่าธุรกรรมทางการเงินบนโลกออนไลน์ได้กลายมาเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับเศรษฐกิจในปัจจุบันไปแล้วเมื่อมีการการันตีว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจกว่า 2% หรือค่าจีดีพีมีแนวโน้มว่าจะมีการเพิ่มขึ้นเนื่องจากการดำเนินธุรกิจภายใต้การทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น เป็นการสนับสนุนให้เกิดกิจการมากมายที่สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกและบริการในด้านนี้ และยังทำให้ประชาชนเองสร้างระบบนิเวศในการชำระเงินที่มีประโยชน์ต่อสถาบันการเงินเป็นอย่างมาก

ระบบที่ใช้ต้นทุนต่ำ แต่สร้างความพอใจและความสะดวกสบายในหลาย ๆ ด้าน

โครงสร้างการเงินของทางประเทศที่เปลี่ยนไปและยังได้รับการยอมรับตามมาตรฐานการเงินของสากลต้องยอมรับเลยว่าส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายการชำระเงินแบบนี้มาจากกระบวนการทางการเงินของรัฐ ซึ่งมีการสนับสนุนนโยบายการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ และยังมีการพยายามปรับการชำระเงินของรัฐให้เข้าสู่ระบบ e-Payment หรือการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ โดยเฉพาะในการส่งเงินสวัสดิการให้กับประชาชน ผ่านบริการพร้อมเพย์ หรือกระเป๋าเงินออนไลน์อย่าง g-wallet ในแอปพลิเคชันเป๋าตังค์ ที่ทางรัฐบาลได้ใช้เพื่อการสนับสนุนเงินจากทางภาครัฐในช่วงโควิดจากโครงการ คนละครึ่ง และ เที่ยวด้วยกัน

นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความพอใจในหลาย ๆ ด้านแล้ว ธุรกรรมออนไลน์ยังถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยยกระดับประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าเพื่อร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติได้รวมถึงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในสังคม

ยังคงต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและใช้งาน

ถึงแม้ประเทศไทยจะกลายมาเป็นผู้นำทางด้านธุรกรรมทางการเงินที่อยู่ในอันดับสามของโลกแต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีช่องว่างของการเข้าถึงในระบบธุรกรรมออนไลน์นี้ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยการชำระเงินและบริการที่สะดวกและดีก็ยังจะมีการขยายการใช้งานเป็นวงกว้างในต่อไปและหวังว่าในวันนึงช่องว่างระหว่างความเหลื่อมล้ำนี้จะกระชับขึ้น